ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานในยุค Thailand 4.0 “สอนอย่างไรให้เป็น WIL”
ลักษณะโครงการ พัฒนาอาจารย์สู่มืออาชีพ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพชยนต์ สิริเสถียรวัฒนา
สังกัดหน่วยงาน งานสหกิจศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

1.   หลักการและเหตุผล
        การจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrate Learning : WIL) เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่ผสมกลมกลืนระหว่างการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experimental Learning) โดยเน้นประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิต (Work – based Learning) ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีโอกาสนำทักษะความรู้ทางทฤษฎีจากการเรียนการสอนในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ร่วมกับทักษะการทำงาน และทักษะวิชาชีพ ได้เรียนรู้ชีวิตการทำงานจริงนอกห้องเรียนก่อนสำเร็จการศึกษา และยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความร่วมมือเชิงลึกระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ (องค์กรผู้ใช้บัณฑิต) ซึ่งรูปแบบหรือวิธีการในการจัดการเรียนการสอนอาจอยู่ในรูปของการศึกษาวิจัย การฝึกงาน การทำสหกิจศึกษา การทำงานเพื่อสังคม การทำงานในสถานประกอบการ หรือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เป็นต้น
        โครงสร้างในการการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานสามารถกลุ่มตามโอกาสการได้เรียนรู้ประสบการณ์การในการทำงานของผู้เรียนได้ 2 รูปแบบ คือ ประสบการณ์การทำงานแบบมีโครงการสร้าง (Structured Work Experiences) และประสบการณ์การทำงานแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Work Experiences) และรูปแบบของการจัดการเรียนแบบมีโครงสร้างยังสามารถแบ่งกลุ่มย่อยได้อีกหลายรูปแบบตามโครงสร้างการจัดการเรียนการสอนและช่วงระยะเวลาในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เช่น การกำหนดประสบการณ์ก่อนการศึกษา (Pre-course Experience) การเรียนสลับกับการทำงาน (Sandwich Course) การฝึกงานที่เน้นการเรียนรู้หรือการติดตามพฤติกรรมการทำงาน (Cognitive Apprenticeship or Job Shadowing) หลักสูตรร่วมมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม (Joint Industry University Course) พนักงานฝึกหัดใหม่หรือพนักงานฝึกงาน (New Traineeship or Apprenticeship) และ การบรรจุให้ทำงานหรือการฝึกเฉพาะตำแหน่ง (Placement or Practicum) เป็นต้น โดยรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวนี้สามารถเพิ่มคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นและตรงต่อความต้องการของสถานประกอบการและผู้ใช้บัณฑิต ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ WIL จึงเป็นรูปแบบที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงบรรลุเป้าหมาย ทั้งในส่วนของอาจารย์ผู้สอน ผู้เรียน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และบุคลากรจากสถานประกอบการ ทุกภาคส่วนต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีในการดำเนินงานรวมทั้งการกำกับติดตามเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrate Learning : WIL) สำเร็จลุล่วงและบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนดังกล่าว
 

       เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานในยุค Thailand 4.๐ “สอนอย่างไรให้เป็น WIL” ให้กับผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบและวิธีในการจัดการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrate Learning : WIL) ได้อย่างถูกต้องตรงตามหลักการ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานในยุค Thailand 4.๐ “สอนอย่างไรให้เป็น WIL”

2. วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานในยุค Thailand 4.๐ “สอนอย่างไรให้เป็น WIL” ให้กับผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบและวิธีในการจัดการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrate Learning : WIL) ได้อย่างถูกต้องตรงตามหลักการ

3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัดความสําเร็จของโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 40 คน

4. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

5. วิทยากร
อาจารย์สารัลย์ กระจง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

6. ระยะเวลาและสถานที่
วันที่ 23 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมทองกวาว อาคารทีปังกรรัศมีโชติ

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
       ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานในยุค Thailand 4.๐ “สอนอย่างไรให้เป็น WIL” และสามารถพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบและวิธีในการจัดการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrate Learning : WIL) ได้อย่างถูกต้องตรงตามหลักการ

เอกสารการอบรม
1. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ
2. ตัวอย่างข้อเสนอโครงการ "หลักสูตรวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฮริยะ"
3. เอกสาร มคอ.2 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
4. แนวทางการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย
5. คู่มือการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน
6. ความต้องการและคุณค่าที่องค์กรผู้ใช้บัณฑิตได้รับ รูปแบบ CWIE

 

ภาพกิจกรรม